EB-3: Employment-Based Immigration-Third Preference

EB-3: Employment-Based Immigration-Third Preference

บล็อคนี้ขอมาแปลกนิดนึง แต่ก็มีความเกี่ยวเนื่องกับสถานะนักเรียน F-1 ช่วงหลัง ๆ เราอาจจะได้ยินคนนั้นคนนี้เล่าว่า เค้าหรือคนรู้จักได้สปอนเซอร์ใบเขียวจากเจ้าของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ร้านอาหาร หรือบริษัทใด ๆ ที่มีกำไรเพียงพอ ขอเรียกเจ้าของกิจการที่สปอนเซอร์ว่า employer ส่วนคนที่ได้รับการสปอนเซอร์ว่า foreign worker ซึ่งอาจจะยังอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด หรือว่าได้เข้ามาอยู่ในอเมริกาแล้วอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เช่น เป็นนักเรียนเป็นต้น เนื่องจากทาง Welbright ดูแลพี่ ๆ น้อง ๆ ที่เป็นนักเรียนอยู่ก็อยากอธิบายถึงขั้นตอนทั้งหมดตั้งแต่การหา employer ไปจนถึงได้รับใบเขียวสำหรับคนที่อยู่ในอเมริกาแล้ว เผื่อว่าโอกาสดี ๆ นี้จะพุ่งมาหาในอนาคตอันใกล้ หรืออาจจะต้องใช้เวลาและความพยายามในการตามหาโอกาสนั้น ขอให้รักษาสถานะนักเรียนเอาไว้ให้ดี ทำตามกฏของโรงเรียน เพราะว่า EB-3 ไม่สามารถทำได้ถ้าเราอยู่ในอเมริกาไม่ถูกต้องตามกฏหมาย ว่าแต่ EB-3 คืออะไรกันแน่ มันดียังไง ง่าย ๆ เลยก็คือเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะทำให้ foreign worker สามารถเข้ามาทำงานได้ในฐานะ Legal Permanent Residence (LPR) หรือ Green…

Student Visa in the U.S

Student Visa in the U.S

วีซ่านักเรียนของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นถือว่าเป็นวีซ่าชั่วคราว (non-immigrant visa) ก็ตามชื่อเลยครับ ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้จะได้รับการอนุญาตให้พำนักอยู่ในสหรัฐฯชั่วคราว ว่าแต่ว่าชั่วคราวนี่นานแค่ไหน? ถ้าเป็นวีซ่าท่องเที่ยว B1/B2 เข้ามาครั้งนึงก็จะได้รับการอนุญาตให้อยู่อยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนหรือน้อยกว่านั้นแล้วแต่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (CBP Officer) แต่สำหรับนักเรียน ชั่วคราวคือ D/S หรือชื่อเต็มว่า Duration of Status ก็คืออยู่ได้เท่าที่ยังคงสถานะการเป็นนักเรียนตามกฏหมายสหรัฐฯ ซึ่งการคงสถานนะนักเรียนนี่คงต้องแยกเอาไว้อธิบายต่อไปนะครับเพราะว่าค่อนข้างยาวทีเดียว ต่อเลยนะครับ วีซ่านักเรียนมีทั้งหมดสามตัวครับ 1. F หรือ Academic Student Visa ตัวนี้เป็นตัวที่คนไทยน่าจะคุ้นเคยกันมากที่สุด เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ ถ้าที่บ้านส่งเรียน และมาเรียนวิชาการทั่วๆไป ก็จะได้รับวีซ่านี้ และเมื่อตรวจเข้าเมืองก็จะได้รับอนุญาตให้อยู่เป็น D/S เรียนจบก็ลงเรียนโปรแกรมใหม่ได้ หรืออยากจะย้ายที่เรียนก็สามารถทำได้โดยติดต่อโรงเรียนใหม่ ไม่ยุ่งยาก ทำงานระหว่างเรียนได้ ถ้าสนใจเกี่ยวกับกฏอนุญาตให้ทำงานลองหาอ่านได้จาก blog ก่อนหน้านี้ของเราได้ 2. M หรือ Vocational Student Visa ตัวนี้คนไทยเราไม่ค่อยรู้จักกันเท่าไหร่นะครับ เพราะจะเป็นการมาเรียนทางสายอาชีพ ฝึกทักษะเฉพาะ เข้ามาด้วยวีซ่าตัวนี้อยู่ได้ทีละหนึ่งปี ถ้าจะอยู่ต่อก็ต้องทำเรื่องขอต่อ…

Are F-1 Students Allowed to Work?

Are F-1 Students Allowed to Work?

ช่วงนี้เทรนด์เรื่อง “ย้ายประเทศกันเถอะ” กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่คนไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่ต่างประเทศ ทาง Welbright ของเราก็เลยอยากจะหยิบยกประเด็นร้อน ๆ ที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้หรือเข้าใจไม่ถูกต้องชัดเจนนัก นั่นก็คือ เป็นนักเรียนในอเมริกาสามารถทำงานได้รึป่าว หลาย ๆ คนบอกว่า เฮ้ย ไม่ได้นะ เป็นนักเรียนห้ามทำงานเด็ดขาด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ช่องทางในการที่จะเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย (อย่างถูกต้องตามกฏหมาย)นั้นมีอยู่จริง ทำได้จริงนะครับ เราอาจจะไม่ได้ทำงานได้เต็มเวลา หรือไม่สามารถทำงานได้บางช่วง แต่ว่าการทำงานในขณะที่ถือวีซ่านักเรียน F-1 นั้นสามารถทำได้แน่นอน การทำงานที่ทาง Welbright อ้างถึงนั้นเป็นการทำงานที่ได้รับการอนุญาตผ่านทางโรงเรียน แยกออกเป็นคร่าว ๆ ก็คือ เอ.. แล้วถ้าเรียนจบแล้วจะทำยังไงดี? ก็กลับบ้านหรือไง? คำตอบอาจจะดูเหมือนกำปั้นทุบดิน แต่ว่าคำตอบก็คือ ต้องกลับบ้านครับ เว้นแต่ว่า จะลงเรียนโปรแกรมอื่น ๆ ต่อไป รักษาสถานะนักเรียนจนกว่าจะมีทางเลือกอื่น ๆ ที่จะยื่นขอการย้ายถิ่นฐานถาวร ซึ่ง ปธน. โจ ไบเดน ก็มีโครงการที่จะทำให้รักเรียนที่จบการเรียนสามารถทำงานต่อได้เต็มเวลา แต่ว่าทางเลือกนี้ยังไม่ได้เป็นกฏหมายและก็ยังไม่รู้ว่าจะได้รับการอนุมัติหรือไม่ หรือว่าเมื่อไหร่ ถ้าพี่ ๆ…

Visa VS Status: Are they the same or different?

Visa VS Status: Are they the same or different?

[English] เรื่องของ visa (วีซ่า) และ status (สถานะ) นั้น ยังคงเป็นเรื่องที่ non-immigrants (ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในอเมริกาแบบชั่วคราว) เข้าใจผิดได้อยู่เสมอ และยังไม่มีทีท่าว่า trend นี้จะเปลี่ยนไป ไม่ว่าทั้งในกลุ่มคนไทย หรือคนชาติอื่นๆ น้อง ๆ บางคนอาจถามว่า non-immigrants คืออะไร มีใครกันบ้าง จากในวงเล็บข้างต้น non-immigrants คือคนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในอเมริกาแบบชั่วคราว เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ทางตม.ให้สิทธิ์ที่จะพำนักอยู่ได้ ก็จะต้องออกนอกประเทศทันที ไม่งั้นก็จะถือว่า overstay หรืออยู่เกินกำหนด ซึ่งนั่นก็ทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นคนที่อยู่อย่างผิดกฎหมายทันที แล้ว non-immigrants มีใครกันบ้าง ตอบแบบง่ายๆเลยก็คือทุกคนที่ไม่ใช่ 1) US Citizen (หลายๆครั้งเราอาจจะได้เห็นตัวย่อว่า USC หรือคนสัญชาติอเมริกันนั่นเอง ไม่ว่าจะได้มาจากการที่เกิดที่อเมริกา หรือได้มาทีหลังจากการทำ naturalization หรือการยื่นขอเปลี่ยนสัญชาติหลังจากที่มีสิทธิ์ในการยื่นคำร้อง) 2) Legal Permanent Residents (ย่อว่า LPR หรือที่เรารู้จักกันว่าคนที่ได้ใบเขียวหรือ green-card holders)…